วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การจัดองค์ประกอบภาพ

สร้างกรอบให้ภาพ


หลักการนี้เป็นหลักการสร้างจุดสนใจให้กับภาพอีกอย่างหนึ่ง โดยให้เราหารอบประตูหน้าต่าง หรืออะไรก็ได้ที่มีลักษณะเป็นกรอบอาจจะสองด้านหรือว่าสี่ด้านก็ได้ แล้วจากนั้นก็นำจุดสนใจในภาพไปใส่ไว้ในกรอบนั้นๆ ผู้ชมภาพจะถูกบีบด้วยกรอบที่ซ้อนอยู่ในภาพให้มองไปยังจุดสนใจที่เราวางเอาไว้ ซึ่งจะเป็นการทำให้ภาพดูน่าสนใจมากขึ้นอีกทางหนึ่งได้

การจัดองค์ประกอบภาพ

แบบทิ้งพื้นที่ให้ว่าง




ในหลายๆครั้งนั้นเราจะพบปัญหาเกี่ยวกับพื้นทีส่วนอื่นๆในภาพว่าเราควรจะเหลือส่วนไหนอย่างไรดี หลักการนี้ก็เป็นหลักการง่ายๆโดยให้เราทำการเหลือพื้นที่ด้านเดียวกับจุดสนใจในภาพเพื่อให้คนดูภาพไม่รู้สึกอึดอัด เช่นถ้าหากหน้าคน รถ หรือว่าอะไรก็ตามหันไปทางไหนให้เราเหลือพื้นที่บริเวณนั้นเอาไว้ เพื่อให้ผู้ชมภาพไม่รู้สึกอึดอัดและยังเหลือที่ว่างให้คิดหรือจินตนาการต่อได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป หลักการนี้เป็นหลักการง่ายๆที่ทำให้ผู้ชมภาพไม่รู้สึกอึดอัด แต่ถ้าหากภาพนั้นต้องการสื่อถึงอารมณ์ให้รู้สึกอึดอัดก็ไม่จำเป็นต้องเหลือพื้นที่ก็ได้ แล้วแต่ว่าเราต้องการบอกอะไรคนดู


การจัดองค์ประกอบภาพ

แบบมีเส้นนำสายตา

ในบางครั้งการวางจุดสนใจในภาพอาจไม่ได้วางตามจุดตัด 9 ช่องก็ได้ แต่เราจะมีวิธีอื่นที่สร้างให้จุดนั้นๆกลายเป็นจุดสนใจในภาพได้โดยการ ใช้เส้นนำสายตาซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อมนุษย์เราเห็นเส้นอะไรสักอย่างมักจะมองตามไปเสมอ และการมองตามเส้นนั้นๆไปจะดึงให้สายตาของผู้มองนั้นมองตามไปจนเจอกับจุดสนใจในภาพที่เราวางไว้ เส้นนำสายตานั้นจะเป็นอะไรก็ได้ในภาพที่มีลักษณะเป็นเส้น เช่น ถนน ขอบรั้ว หรืออะไรก็ได้ไม่จำกัดขอให้มีลักษณะเป็นเส้น และให้เส้นเหล่านั้นชี้ไปยังจุดสนใจที่เราได้ทำการวางเอาไว้ จะทำให้จุดสนใจในภาพที่เราวางเอาไว้เด่นขึ้นมาในทันที

การจัดองค์ประกอบภาพ

แบบจุดตัด 9 ช่อง

สำหรับภาพที่มีจุดสนใจในภาพนั้น โดยปกติแล้วเรามักจะวางจุดสนใจกันเอาไว้กลางภาพ ซึ่งในหลายๆครั้งจุดสนใจนั้นจะถูกลดความน่าสนใจลงไปเนื่องจากโดยส่วนอื่นๆบริเวณรอบข้างดึงความสนใจไป เราสามารถแก้ปัญหานี้ได้โดยการใช้กฎที่เรียกว่า “จุดตัด 9 ช่อง” โดยให้ทำการแบ่งภาพทั้งหมดเป็น 9 ช่อง แล้วเลือกวางจุดสนใจในบริเวณที่เป็นจุดที่เส้นแบ่งนั้นตัดกันซึงจะมีทั้งหมด 4 จุดด้วยกัน การวางจุดสนใจในภาพไว้ในลักษณะนี้นั้นจะทำให้จุดสนใจในภาพนั้นน่าสนใจมากยิ่งขึ้นและเด่นชัดมากยิ่งขึ้นดังภาพด้านล่าง

การจัดองค์ประกอบภาพ

แบบ 3 ส่วน
RULE OF THE THIRDS (กฏสามส่วน)

การถ่ายภาพโดยวางวัตถุอยู่ตรงกึ่งกลางภาพจะทำให้ภาพดูน่าเบื่อ ดังนั้นเราจึงนำแนวคิดของกฏสามส่วนมาใช้จัดวางองค์ประกอบภาพ เพื่อทำให้ภาพถ่ายดูน่าสนใจมากขึ้น ซึ่งกฏสามส่วน ก็ถูกนำเอามาจาก golden mean ซึ่งเป็นทฤษฎีพื้นฐานดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น

การจัดองค์ประกอบภาพ

แบบ golden mean - Composition ตอน 2

รูป Golden Spiral โดยแบ่งภาพทีละ 1:1.618 ของด้านยาว แล้วลากจุดตัด เป็นเส้นโค้ง

มาเป็น Golden Triangle แบ่งเป็นสามเหลี่ยมคล้ายเท่าๆ กัน 3 อัน
(สี่เหลี่ยมเป็น 3:2 ก็ใช้ Golden Triangle แบบ 3:2 ก็ถือว่าใกล้เคียง)



หากเราวางตัวแบบ หรือเหตุการไว้ที่เส้นดังกล่าวหรือจุดตัด ก็จะทำให้ภาพของเราดูน่าสนใจยิ่งขึ้น

การจัดองค์ประกอบภาพ

แบบ golden mean - Composition ตอน 1

golden mean คือสัดส่วน (ratio) 1:1.6180339.. เป็นตัวเลขมหัศจรรย์ ที่ถูกค้นพบมาตั้งแต่สมัยก่อน
และทุกวันนี้ถูกใช้ในทุกๆ สิ่งรอบตัวเรา โดยที่เราอาจไม่รู้ตัว เป็นอะไรที่สมองของมนุษย์ตอบสนองดีเป็นพิเศษ
อย่างเช่น มีการทดลองพบว่า รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่คนชอบมากที่สุดเป็นสัดส่วน 1:1.618

ที่นี้ เจ้า 1.618 มาจากไหน?
จากอนุกรม Fibonacci ( S[n] = S[n-1] + S[n-2] )
0,1,1,2,3,5,8,13,21,34,55,89,...
เอา 3/2 = 1.5
5/3 = 1.667
..
55/34 = 1.6176
89/55 = 1.6182
จากนั้น ค่าจะลู่เข้า ค่าๆ หนึ่งเรียกว่า Phi = 1.6180339... (เป็นอีกค่าคงที่ เหมือนค่า Pi และ e ที่เรารู้จัก)

จะเห็นว่า 3:2 ก็อยู่ในอนุกรม Fibonacci เหมือนกัน

พอรู้จักค่า Phi แล้ว.. มาลองแบ่งตารางกันบ้างดีกว่า..
จากรูป ขนาดสี่เหลี่ยมสีน้ำเงิน จะมีขนาดเท่ากับ 1:1.618 ของสี่เหลี่ยมใหญ่


7 เทคนิคในการถ่ายภาพบุคคล

เทคนิคที่ 7

การถ่ายภาพบุคคลร่วมกับทิวทัศน์

ในหลายๆครั้งที่เราต้องถ่ายภาพบุคคลร่วมกับฉากหลังโดยที่เราจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับทั้งสองอย่างเช่น การไปถ่ายรูปในสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆหรือการถ่ายรูปกับสถานที่สำคัญ เรามักพบว่าโดยทั่วไปมักจะวางตัวแบบไว้ตรงกลางภาพซึ่งในหลายครั้งตัวแบบของเราจะไปบดบังภาพทิวทัศน์เบื้องหลัง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมีวิธีง่ายๆที่จะทำให้ทั้งสองสิ่งอยู่ร่วมกันได้ให้เราทำการวางคนไว้ด้านซ้ายหรือด้านขวาภาพตามกฎของจุดตัด 9 ช่อง จะทำให้สามารถเก็บภาพของทิวทัศน์เบื้องหลังและภาพของตัวแบบเอาไว้ได้โดยไม่มีปัญหาใดๆ

7 เทคนิคในการถ่ายภาพบุคคล

เทคนิคที่ 6

ถ่ายภาพย้อนแสง

หลายครั้งเราอาจเคยได้ยินว่าการถ่ายภาพย้อนแสงนั้นจะให้ให้ตัวแบบหน้าดำและได้ภาพที่ไม่ดี แต่ในความเป็นจริงแล้วการถ่ายภาพบุคคลย้อนแสงนั้นมีสิ่งที่ซ่อนอยู่ โดยเราจะได้ประกายของเส้นผมเกิดขึ้นจากการถ่ายภาพย้อนแสง ซึ่งสิ่งที่เราเองทำการแก้ไขคือการทำไม่ให้ตัวแบบเรานั้นหน้าดำซึ่งวิธีแก้นั้นจะมีอยู่ 3 วิธีด้วยกันได้แก่

1. ใช้การวัดแสงแบบเฉพาะจุดวัดแสงที่บริเวณแก้มของตัวแบบ ( วิธีการนี้อาจทำให้ฉากหลังว่างเกินไป)
2. ใช้แฟลชช่วยเติมแสงบริเวณใบหน้า
3. ใช้ Reflex ในการเติมแสงบริเวณใบหน้า ( วิธีนี้จะให้แสงที่นุ่มและมีมิติมากกว่าการใช้แฟลชธรรมดา แต่ต้องมีคนช่วยถือให้)

จากสามวิธีการข้างต้นนั้นจะทำให้เราสามารถถ่ายภาพย้อนแสงโดยมีประกายที่เส้นผมได้ โดยที่ไม่ทำให้ตัวแบบของเราหน้าดำอีกต่อไป วิธีการนี้ไม่ยากและนำไปปรับใช้กับสถานะการณ์ต่างๆได้ไม่ยากครับ

7 เทคนิคในการถ่ายภาพบุคคล

เทคนิคที่ 5

Window light


การควบคุมทิศทางแสงนั้นถือเป็นเทคนิคสำคัญอย่างหนึ่งของการถ่ายภาพบุคคลให้มีความแตกต่าง ในสถานะการณ์ต่างๆนั้นก็จะมีสภาพแสงที่แตกต่างกันไป ซึ่งเราต้องหาให้เจอว่าจะใช้งานแต่ละสภาพแสงนั้นๆอย่างไร หนึ่งเทคนิคที่สามารถใช้งานได้ง่ายคือการใช้งานแสงที่เข้ามาเพียงด้านเดียว ซึ่งจะเรียกว่า Window light เทคนิคนี้ใช้งานไม่ยากและสร้างความแตกต่างในภาพได้ดี เราสามารถใช้เทคนิคนี้ได้โดยการหาสถานที่ที่มีแสงเข้ามาด้านเดียว เช่นด้านข้างหน้าต่าง ประตู หรือว่าช่องกำแพงก็ได้ ขอให้เป็นสถานที่ๆสามารรถบีบให้แสงเข้ามาจากด้านเดียวได้ แล้วจัดให้แสงเข้ามาด้านข้างของตัวแบบ เท่านี้เราก็จะได้ภาพแสงที่แตกต่างจากปกติอยู่พอสมควรแล้วซึ่งเทคนิคนี้ไม่ยากจนเกินไปนัก อยู่ที่เราจะสามารถหาสภาพแสงในสถานที่นั้นๆได้หรือไม่ จากภาพตัวอย่างข้างล่างเป็นภาพที่ให้ตัวแบบยืนข้างๆช่องแสง เพื่อให้มีแสงเข้ามาทางด้านขวาของภาพเพียงด้านเดียว ทำให้ได้ภาพที่มีลักษณะแปลกตาและน่าค้นหามากขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2553

7 เทคนิคในการถ่ายภาพบุคคล

เทคนิคที่ 4

ปล่อยให้เขาเป็นในแบบที่เขาเป็น

ในการถ่ายภาพบุคคลบางอย่างเช่นภาพแนววิถีชีวิต แนวสารคดีหรือว่าแนวอื่นๆก็ตาม บางครั้งเราต้องถ่ายภาพเพื่อสื่อความเป็นตัวตนของคนๆนั้นออกมา มากกว่าการที่จะให้คนๆนั้นทำตาม Concept ที่เราวางเอาไว้ ซึ่งภาพแนวนี้เราต้องมองให้เห็นและดึงความเป็นตัวตนของเขาออกมา โดยปล่อยให้เขาเป็นในแบบที่เขาเป็น ซึ่งสำหรับภาพแนววิถีชีวิตหรือแนวสารคดีนั้น การเดินเข้าไปถ่ายตรงๆนั้นค่อนข้างจะเสียมารยาทและทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้บ่อย การที่คนมีกล้องมีสิทธิ์ที่จะถ่ายภาพนั้นคนถูกถ่ายก็มีสิทธิ์ที่จะไม่ให้ถ่ายได้พอๆกัน เราควรที่จะเข้าไปพบปะพูดคุยกันเสียก่อนแสดงความเป็นมิตรกับผู้ที่เราจะถ่ายภาพเขา ถ้าหากว่าเราผูกมิตรกับเขาได้โอกาสที่จะได้ภาพสวยๆนั้นมีความเป็นไปได้สูงครับ


ตัวอย่างภาพสารคดีสัตว์โลกน่ารัก

7 เทคนิคในการถ่ายภาพบุคคล

เทคนิคที่ 3

สื่อสารกับตัวแบบของคุณให้ชัดเจน


เพราะว่าการถ่ายภาพ Portrait นั้นช่างภาพไม่ได้ทำงานคนเดียวเหมือนกับการถ่ายภาพแนวอื่นเช่นการถ่ายภาพทิวทัศน์ การถ่ายภาพบุคคลนั้นจึงเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ถ่ายและตัวแบบ ซึ่งต้องมีการสื่อสารพูดคุยกันว่าอย่างได้อารมณ์และท่าทางแบบไหน ศิลปะในการสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญประการแรกเลย คืออย่าทำให้ตัวแบบเรามีความเครียดอย่างเด็ดขาด เพราะว่าจะทำให้ไม่สามารถถ่ายทอดอารมณ์ที่เป็นธรรมชาติออกมาได้ พยายามบอกเล่าและสื่อสารกันให้เข้าใจให้ได้ ว่าท่านต้องการอารมณ์และท่าทางแบบไหน เมื่อสามารถสื่อสารได้ตรงกันแล้วเชื่อแน่นอนได้ว่า คุณจะได้อารมณ์ของภาพแบบที่คุณต้องการได้ไม่ยากนัก


วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

7 เทคนิคในการถ่ายภาพบุคคล

เทคนิคที่ 2


อย่าตัดบริเวณข้อต่อ


หลักการสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือการจัดองค์ประกอบภาพนั้นอย่าตัดกรอบภาพบริเวณข้อต่อ ซึ่งจะได้แก่ คอ ข้อศอก ข้อมือ เอว หัวเข่า ข้อเท้า เนื่องจากจะทำให้อารมณ์ภาพนั้นดูไม่ดี ความรู้สึกของคนดูภาพจะรู้สึกเหมือนว่าตัวแบบของเรานั้นแขนหรือขาขาดได้ การตัดกรอบภาพบริเวณแขนขาหรือลำตัวนั้นทำได้เพียงแต่เราต้องไม่ตัดบริเวณข้อต่อเท่านั้นเอง เนื่องจากข้อต่อต่างๆเป็นจุดเชื่อมต่อของร่างกายอยู่แล้ว การตัดบริเวณข้อต่อนั้นจะเป็นการเน้นย้ำความรู้สึกคนดูภาพว่าอวัยวะส่วนนั้นอาจขาดหายไปได้มากจนเกินไป การระวังไม่ตัดบริเวณข้อต่อจะทำให้ได้ภาพที่ดีกว่า




วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

7 เทคนิคในการถ่ายภาพบุคคล

เทคนิคที่ 1

โฟกัสที่ตานางแบบ



หลักการสำคัญข้อแรกของการถายภาพบุคคลคือการโฟกัสที่ดวงตา เนื่องจากดวงตานั้นเป็นส่วนสำคัญที่สุดในภาพเนื่องจากเป็นสิ่งที่บ่งบอกและแสดงถึงอารมณ์ของภาพ ถ้าหากว่าเราไม่ได้โฟกัสที่ดวงตาและทำให้ตาไม่ชัดนั้นตัวแบบที่เราถ่ายจะดูเหมือนคนสุขภาพไม่ดีดูเหมือนคนป่วยทำให้ภาพขาดความน่าสนใจไปในทันที เหตุที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการถ่ายภาพบุคคลนั้นเรามักจะใช้รูรับแสงที่กว้างซึ่งจะทำให้มีระยะชัดลึกที่น้อย ถึงแม้ว่าเราจะทำการโฟกัสที่ใบหน้าแล้วก็ตามแต่หลายครั้งเอาอาจพบกรณีที่จมูกชัดแต่ดวงตาไม่ชัดหรือบางครั้งเป็นแก้มหรือว่าใบหูชัดแต่ดวงตาไม่ชัดก็มี การโฟกัสที่ดวงตาให้ชัดนั้นบางครั้งบริเวณไหล่หรือว่าใบหูไม่ชัดก็จะยังสามารถเป็นภาพที่ดีได้ ดวงตานั้นเป็นหน้าต่างของหัวใจการโฟกัสดวงตาให้ชัดจึงสำคัญเป็นประการแรก

วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แสง ในภาพถ่าย ตอนที่3

ทิศทางของแสง
แสงข้าง (Side light) เป็นแสงที่ส่องมาด้านข้างของสิ่งที่จะถ่าย
ทำมุมประมาณ 90ºด้านซ้ายและด้านขวา ทำให้เกิดเงามืดตัดกับ
แสงสว่าง ช่วยให้เห็นผิวพื้นชัดเจน เห็นเป็นรูปลักษณะด้านสูง
และลึก แสงชนิดนี้เหมาะกับการถ่ายภาพบุคคล

แสงหลัง (Back light) เป็นแสงที่มาจากด้านหลังของสิ่งที่จะถ่าย
ตรงข้ามกับตำแหน่งที่ตั้งกล้องเห็นเป็นเงาดำๆ แสดงเฉพาะรูปทรง
ภายนอกเท่านั้น การถ่ายภาพแนวนี้เรียกกันว่าแนวซิลูเอท

แสงหน้า (Front light) เป็นแสงที่ส่องตรงเข้ามาทางด้าน
หน้าของวัตถุที่ถูกถ่าย แสงแบบนี้จะมีเฉพาะบริเวณ Highlight
ไม่เกิดเงาในภาพ ทำให้วัตถุดูเรียบแบน
แสงเฉียงหน้าและแสงเฉียงหลัง (Semi - Front light and
Semi - Back light) เป็นแสงที่ส่องเฉียงเข้าด้านข้างและ
ด้านหลังของวัตถุ ทั้งด้านซ้ายและขวา การถ่ายภาพที่มีแสง
หลากหลายตกกระทบกับตัวแบบ อาจจะจัดแสงยากกว่าแบบ
อื่น แต่ภาพที่ได้จะสวยและดูแปลกตา





วันพฤหัสบดีที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แสง ในภาพถ่าย ตอนที่2

ลักษณะของแสงที่ใช้ในการถ่ายภาพ





แสงแบบแข็ง (hard light) แสงแบบแข็งเป็นแสงสว่างจาก
ดวงไฟส่องไปยังวัตถุที่ถ่ายโดยตรง วัตถุที่มีร่องขรุขระจะมอง
เห็นความแตกต่างระหว่างพื้นเรียบได้ชัดเจน

แสงแบบนุ่ม (Soft light) เป็นส่วนที่สว่างและส่วนที่เป็นเงา
มืดมีความแตกต่างกันน้อย

แสงสว่างทั่ว (High key) แสงสว่างทั่วเป็นการจัดแสงเพื่อ
ทำให้ภาพดูนุ่มนวลชวนฝัน โดยใช้ฉากหลังเป็นสีอ่อนหรือสีขา
ให้แสงสว่างกระจายทั่วส่องไปยังแบบให้เงาที่เกิดอ่อนที่สุด

แสงสว่างส่วนน้อย (Low key) แสงสว่างส่วนน้อยเป็นการ
จัดแสงลักษณะตรงข้ามกับแบบแสงสว่างทั่ว เพื่อทำให้ภาพดู
ลึกลับตื่นเต้นน่าพิศวง ส่วนที่สว่างมีเนื้อที่น้อยที่สุด

วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แสง ในภาพถ่าย ตอนที่1

หลังจากทราบในเรื่องทฤษฎีของแสงไปแล้ว
มาดูในเรื่องแสงที่เราเห็นในภาพถ่ายกัน
แสงที่ใช้ในการถ่ายภาพ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ


1. แสงธรรมชาติ (Natural light) คือ แสงสว่างที่ได้จากแหล่งกำเนิด
แสงธรรมชาติ ได้แก่ ดวงอาทิตย์และแสงที่ได้จากการสะท้อนทางอ้อม
ในเวลากลางวัน ส่วนแสงจากดวงจันทร์และดวงดาวนั้นมีบ้างแต่มีโอกาส
ได้ใช้ค่อนข้างน้อย


2. แสงเทียม (Artificial light) คือ แสงสว่างที่ได้จากสิ่งประดิษฐ์ของ
มนุษย์โดยกรรมวิธีต่างๆ เช่น แสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าทุกชนิด แสงจาก
ไฟแฟลชทุกชนิด แสงจากตะเกียงหรือเทียนไขและแสงรังสีต่างๆ
ที่ใช้ในงานวิทยาศาสตร์และการแพทย์







วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แสง การค้นพบและทฤษฎี

การตรวจวัดคลื่นแสงเริ่มขึ้นใน คริสต์ศตวรรษที่ 19
ในปี 1928 ไรท์ ( W.D.Wright ) และ กิลด์ ( J.Guild )
ประสบความสำเร็จในการตรวจวัดคลื่นแสงครั้งสำคัญ
และได้รับการรับรองจาก Commission Internationale
de l 'Eclairage หรือ CIE ในปี 1931
โดยถือว่าเป็นการตรวจวัดมาตรฐานสามเหลี่ยมสี CIE เป็น
ภาพแสดงรูปสามเหลี่ยมเกือกม้านำเสนอไว้ในปี 1931
โดยการวิเคราะห์สีจากแสงสเปคตรัม สัมพันธ์กับความยาว
คลื่นแสงแสดงถึงแสงสีขาวท่ามกลางแสงสเปคตรัมรอบ
รูปเกือกม้า


โค้งรูปเกือกม้าแสดงความยาวคลื่นจาก 400- 700 mu สามเหลี่ยมสี CIE สร้างขึ้นตาม
ระบบความสัมพันธ์พิกัด X และ Y คาร์เตเชียน ในทางคณิตศาสตร์จากมุมตรงข้าม 3 มุม
ของรูปเกือกม้าคือสีน้ำเงินม่วงเข้มประมาณ 400 mu สีเขียวประมาณ 520 mu และ
สีแดงประมาณ 700 mu คือสีจากแสง ที่จะนำมาผสมกันและก่อให้เกิดสีต่าง ๆ ขึ้น
แสงสีแดงมีความยาวคลื่นสูงสุด แต่มีความถี่คลื่นต่ำสุด จะหักเหได้น้อยที่สุด และแสงสีม่วง
จะมีความยาวคลื่นน้อยสุด แต่มีความถี่คลื่นสูงสุด และ หักเหได้มากที่สุด

โครงสร้างของสามเหลี่ยมสี CIE นี้ มิได้ขึ้นอยู่กับทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่ง แต่เกิดจากการ
ทดลองค้นคว้าทาง วิทยาศาสตร์ ระบบการพิมพ์อุตสาหกรรม การถ่ายภาพ ภาพยนตร์
โทรทัศน์ ได้ใช้โครงสร้างสีนี้เป็นหลัก ในระบบการพิมพ์ได้ใช้สีจากด้าน 3 ด้านของ
รูปเกือกม้าคือ สีเหลือง ฟ้า สีม่วงแดง และสีดำเป็นหลัก ส่วน ในการถ่ายภาพ ภาพยนตร์
โทรทัศน์ จอคอมพิวเตอร์ใช้สีจากมุมทั้งสาม คือ แดง เขียว น้ำเงิน เป็นหลัก

ในราวปี ค.ศ. 1666 เซอร์ ไอแซค นิวตันได้แสดงให้เห็นว่า สีคือส่วนหนึ่งในธรรมชาติของ
แสงอาทิตย์ โดยให้ลำแสงส่องผ่านแท่งแก้วปริซึม แสงจะหักเห เพราะแท่งแก้วปริซึม
ความหนาแน่นมากกว่าอากาศ เมื่อลำแสงหักเหผ่านปริซึมจะปรากฏแถบสีสเปคตรัม
(Spectrum) หรือที่เรียกว่า สีรุ้ง (Rainbow) คือ สีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด
แดง เมื่อแสงตกกระทบโมเลกุลของสสาร พลังงานบางส่วนจะดูดกลืนสีจากแสงบางส่วน
และสะท้อนสีบางสีให้ปรากฏเห็นได้ พื้นผิววัตถุที่เราเห็นเป็นสีแดง เพราะ วัตถุดูดกลืน
แสงสีอื่นไว้ สะท้อนเฉพาะแสงสีแดงออกมา วัตถุสีขาวจะสะท้อนแสงสีทุกสี และวัตถุสีดำ
จะดูดกลืนทุกสีจากทฤษฎีการการหักเหของแสงของ ของนิวตัน และจากสามเหลี่ยมสี
CIE พบว่า แสงสีเป็นพลังงานเพียงชนิดเดียวที่ปรากฎสี จากด้านทั้ง 3 ด้านของ
รูปสามเหลี่ยมสี CIE
นักวิทยาศาสตร์ได้กำหนดแม่สีของแสงไว้ 3 สี คือ
สีแดง ( Red )
สีเขียว (Green)
สีน้ำเงิน ( Blue )
แสงทั้งสามสี เมื่อนำมาฉายส่องรวมกัน จะทำให้ เกิดสีต่าง ๆ ขึ้นมา คือ
แสงสีแดง + แสงสีเขียว = แสงสีเหลือง (Yellow)
แสงสีแดง + แสงสีน้ำเงิน = แสงสีแดงมาเจนตา (Magenta)
แสงสีน้ำเงิน + แสงสีเขียว = แสงสีฟ้าไซแอน (Cyan)
และถ้าแสงสีทั้งสามสีฉายรวมกัน จะได้แสงสีขาว หรือ ไม่มีสี
เราสามารถสังเกตแม่สีของแสงได้จากโทรทัศน์สี หรือจอคอมพิวเตอร์สี
โดยใช้แว่นขยายส่องดูหน้าจอจะเห็นเป็นแถบสีแสงสว่าง 3 สี
คือ แดง เขียว และน้ำเงิน นอกจากนี้เราจะสังเกตเห็นว่า เครื่องหมายของ
สถานีโทรทัศน์สีหลาย ๆ ช่อง จะใช้แม่สีของแสง ด้วยเช่นกัน ทฤษฎีของแสงสีนี้
เป็นระบบสีที่เรียกว่า RGB ( Red - Green - Blue ) เราสามารถนำไปใช้ในการ
ถ่ายทำภาพยนตร์ บันทึกภาพวิดีโอ การสร้าง ภาพ เพื่อแสดงทางคอมพิวเตอร์
การจัดไฟแสงสีในการแสดง การจัดฉากเวที เป็นต้น แสงสีที่เป็นแม่สี คือ
สีแดง น้ำเงิน เขียว จะเรียกว่า สีพื้นฐานบวก ( Additive primary colors )
เกิดจาก การหักเหของแสงสีขาว ส่วนสีใหม่ที่เกิดจากการผสมกันของแม่สีของแสง
ทั้งสามสี จะเรียกว่า สีพื้นฐานลบ (Subtractive primary colors ) คือ
สีฟ้าไซแอน (Cyan)
สีแดงมาเจนต้า (Magenta)
และสีเหลือง (Yellow)
ทั้งสามสีเป็นแม่สีแม่ใช้ในระบบการพิมพ์ออฟเซท หรือที่เรียกว่าสี CMYK
โดยที่มีสีดำ (Black) เพิ่มเข้ามา